วันเสาร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

ต้นป่าช้าเหงา”สมุนไพรไทยดังไกลไปทั่วโลก


ต้นป่าช้าเหงา”สมุนไพรไทยดังไกลไปทั่วโลก หลังสามารถช่วยรักษาได้สารพัดโรค


ต้นป่าช้าเหงา”สมุนไพรไทยดังไกลไปทั่วโลก หลังสามารถช่วยรักษาได้สารพัดโรค




ต้นป่าช้าเหงา พืชสมุนไพร
ป่าเฮ่วหมอง ในภาษาล้านนาและไทใหญ่ คำว่า “ป่าเฮ่ว” หมายถึงป่าช้า “ป่าเฮ่วหมอง” จึงหมายถึง ป่าช้าหม่นหมอง เพราะไม่มีคนเสียชีวิต ไม่มีคนมาใช้บริการป่าช้า ถือเป็นสมุนไพรที่มีความสำคัญมาก เพราะมีความเชื่อว่าจะช่วยให้ไม่เจ็บไข้ได้ป่วยและยังนำมารักษาโรคภัยทั้งที่เป็นพิษเฉียบพลันและโรคเรื้อรังได้
ป่าเฮ่วหมอง ปรากฏในตำรายาล้านนาหลายตำรับ ส่วนใหญ่ใช้รักษาโรคเรื้อรังที่หายยาก เช่น โรคสาน หรือโรคที่มีก้อนเนื้อผิดปกติ รวมทั้งฝีต่างๆ ฝีสามตับหรือมะเร็งตับ ฝีสานปอดหรือมะเร็งปอด เป็นต้น โรคขางหรือแผลเปื่อยเรื้อรังตามอวัยวะต่างๆ และนิยมใช้เป็นยาแก้พิษต่างๆ อาทิ พิษจากสารพิษ พิษสุรายาเสพติด
จากการศึกษาพบว่า ป่าเฮ่วหมองมีฤทธิ์ในการต้านมะเร็งเต้านม มะเร็งต่อมลูกหมาก และป้องกันผลข้างเคียงของยาเคมีบำบัด ต้านการแพ้ ต้านอนุมูลอิสระ ช่วยฟื้นฟูซ่อมแซมตับที่เกิดจากความผิดปกติหรือความเป็นพิษได้ นอกจากนี้ยังมีรายงานถึงความสามารถในการปกป้องเซลล์ปกติจากกัมมันตรังสีได้อีกด้วย

มีข้อมูลทางโภชนาการยืนยันว่า “ป่าเฮ่วหมอง” มีประโยชน์ในการช่วยบรรเทาปัญหาการขาดสารอาหาร เพราะอุดมไปด้วยโปนตีน วิตามิน และแร่ธาตุ ทั้งฟอสฟอรัส แคลเซียม โพแทสเซียม ซิงค์ คอปเปอร์ กรดโพลิก และกรดแอสคอบิก หมอยาไทใหญ่และชาวมุสลิมในสามจังหวัดภาคใต้นิยมใช้เป็นยารักษาโรคฮิตอีกหลายโรค เช่น เบาหวาน ความดัน ไขมันในเลือดสูง และมีการศึกษาที่ยืนยันว่าสารสกัดป่าเฮ่วหมอง สามารถลดความเข้มข้นของน้ำตาลกลูโคสในกระแสเลือดได้ ทั้งในคนที่ระดับน้ำตาลปกติและคนเบาหวาน โดยไม่มีผลให้ระดับน้ำตาลตก และช่วยปกป้องตับ ป้องกันไตเสื่อมจากเบาหวานได้

ป่าเฮ่วหมอง เป็นพืชที่พบได้ทั่วไปในแอฟริกา มีการใช้รักษาโรคมาลาเรีย อาการปวดท้อง โรคทางเดินอาหาร โรคพยาธิใบไม่ในเลือด โรคบิดมีตัว บาดแผลภายนอก กามโรค โรคตับ มะเร็ง ส่วนไนจีเรียใช้รักษาเบาหวาน
ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์สมุนไพรป่าเฮ่วหมองจำหน่ายในสหรัฐและไนจีเรีย เพื่อใช้ในการคุมระดับน้ำตาลในเลือด และในสหรัฐยังมีทำเป็นผลิตภัณฑ์เสริมภูมิคุ้มกัน ซึ่งมี 3 ตำรับ คือตำรับช่วยคุมน้ำตาล ตำรับป้องกันมะเร็งเต้านม และตำรับป้องกันมะเร็งต่อมลูกหมาก

แต่อย่างไรก็ตามการรับประทานสมุนไพรป่าเฮ่วหมองอาจทำให้เกิดภาวะโซเดียมต่ำอย่างมีนัยสำคัญ จึงแนะนำให้รับประทานอาหารรสจัดขึ้น เมื่อมีการรับประทานสมุนไพรชนิดนี้
ตำรับยาแก้โรคเบาหวาน ความดัน ลดไข้ ใช้ใบป่าเฮ่วหมอง หั่น ตากแห้ง แล้วชงเป็นชาดื่ม
ตำรับยาแก้โรคกระเพาะ ใช้ใบป่าเฮ่วหมอง ตากแห้ง ตำผง กินครั้งละ 1 ช้อนชา
ตำรับยาลดเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ลดคอเลสเตอรอลในเส้นเลือด แก้ไข้ แก้ไอ ปวดศีรษะ นำใบมาล้างให้สะอาด ตากให้แห้ง แล้วนำมาบดเป็นผงให้ละเอียด จากนั้นนำมาบรรจุแคปซูล รับประทานครังละ 1-2 เม็ด หลังอาหาร เช้าและเย็น
หรือใช้ใบสด 1 ใบ ล้างให้สะอาด และนำมาเคี้ยวสดๆ วันละครั้ง
หรือใช้ใบสด 4-5 ใบ ตำให้ละเอียด คั้นผสมน้ำต้มสุกเล็กน้อย ให้ได้ประมาณ ½ แก้วชา ดื่มทุกเช้าก่อนอาหาร
ข้อควรระวัง ห้ามใช้ในคนท้องและให้นมบุตร และระวังการใช้ร่วมกับยา Digitoxin และChloroquine
ขอขอบคุณที่มาจาก :  bloggang.com

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
  • ป่าช้าเหงา เป็นไม้ยืนต้น สูง 6-8 เมตร
  • ใบป่าช้าเหงา เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปรี ปลายแหลม โคนป้านหรือเกือบมน ใบอ่อนและใบแก่มีรสขมจัด
  • ดอกป่าช้าเหงา ออกเป็นช่อตามซอกใบและปลายยอด ดอกเป็นสีขาว
  • ผลป่าช้าเหงา ทรงกลม มีเมล็ด


 ใบ

  • ใบใช้ต้มกับน้ำแล้วดื่ม ช่วยลดเบาหวาน
  • แก้อาการของโรคเกาต์
  • ลดความดันโลหิตสูง

ข้อห้าม

  • สตรีมีครรภ์และให้นมบุตร
  • ระวังการใช้ร่วมกับยากลุ่ม Digitoxin และ Chloroquine
ไม้ต้นนี้ มีถิ่นกำเนิดจากประเทศจีน ถูกนำเข้ามาปลูกและขยายพันธุ์ในประเทศไทยนานหลายปีแล้ว นิยมปลูกเฉพาะตามสวนสมุนไพรจีนและสวนสมุนไพรไทยเพื่อใช้ประโยชน์เป็นยา โดยใบสดของ “หนานเฉาเหว่ย” มีรสขมจัด เมื่อเคี้ยวกินสดตอนแรกจะขมในปากมาก แต่พอกินไปได้สักพักจะรู้สึกว่ามีรสหวานในปากและลำคอ


Tag:
#ป่าช้าเหงา #ใบป่าช้าเหงา #หนานเฉาเหว่ย #ใบป่าเฮ่วหมอง #ป่าเฮ่ว

วันอังคารที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

สรรพคุณของขลู่

สรรพคุณของขลู่



ชาใบขลู่ หรือ ใบขลู่ 087-149-9912 คุณย่าณี

  1. ใช้เป็นยาอายุวัฒนะ (ใบสดแก่ เปลือก ใบ เมล็ด)
  2. ใบนำมาต้มกับน้ำอาบจะช่วยบำรุงประสาท (ใบ)
  3. ทั้งต้นนำมาต้มกินเป็นยารักษาโรคเบาหวาน (ทั้งต้น) ส่วนใบก็ใช้ชงดื่มเป็นน้ำชาก็มีสรรพคุณช่วยรักษาโรคเบาหวานได้เช่นกัน (ใบ)
  4. ใบใช้ชงดื่มแทนน้ำเป็นชา มีสรรพคุณช่วยลดความดันโลหิต (ใบ)
  5. ใบสดแก่และรากใช้เป็นยาแก้กระษัย (ราก ใบสดแก่ ทั้งต้น เปลือก ใบ เมล็ด)
  6. ช่วยรักษาโรคตานขโมย (ทั้งต้น)
  7. ช่วยแก้ตานซางในเด็ก เข้าใจว่าใช้ใบชงดื่มแทนน้ำชา (ใบ)
  8. ทั้งต้นใช้เป็นยารักษาโรควัณโรคที่ต่อมน้ำเหลือง (ทั้งต้น)
  9. ขลู่ใช้ปรุงเป็นยาต้มรับประทานแก้โรคเลือด (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
  10. ช่วยรักษาเลือดลม (ใบและต้นอ่อน ทั้งต้น)
  11. ช่วยรักษาไข้ (ใบและราก ใบสดแก่)
  12. ช่วยขับเหงื่อ (ใบและราก ใบสดแก่) บ้างว่าช่วยล้างพิษได้ด้วย
  13. ช่วยรักษาริดสีดวงจมูก ด้วยการขูดเอาแต่ผิวของต้นนำมาขูดขนออกให้สะอาด ทำเป็นเส้นตากแห้ง แล้วมวนเป็นยาสูบรักษาริดสีดวงจมูก (ผิวต้นหรือเปลือกต้น ทั้งต้น เปลือกต้น ใบ เมล็ด)
  14. เปลือกต้นนำมาสับเป็นชิ้น ใช้มวนบุหรี่สูบช่วยแก้โพรงจมูกอักเสบหรือไซนัสได้ (เปลือกต้น)
  15. ทั้งต้นสดหรือต้นแห้งใช้เป็นยาช่วยย่อย (ทั้งต้น)
  16. น้ำคั้นจากใบช่วยรักษาโรคบิด (ใบ ใบและราก)
  17. ดอกมีรสหอมฝาดเมาเค็ม ช่วยแก้นิ่ว (ดอก) ทั้งต้นมีรสฝาดเค็ม มีสรรพคุณแก้นิ่วได้เช่นกัน (ทั้งต้น) ส่วนใบและรากมีรสหอมฝาดเมาเค็ม มีสรรพคุณขับนิ่วได้เช่นกัน (ใบราก)
  18. ทั้งต้นใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาก่อนอาหารครั้งละ 75 มิลลิลิตร (ประมาณ 1 ถ้วยชา) วันละ 3 ครั้ง จะช่วยขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะพิการได้ รักษาอาการขัดเบา (ทั้งต้น) ส่วนใบก็เป็นยาขับปัสสาวะด้วยเช่นกัน (ใบ) ซึ่งจากการทดลองในสัตว์และคนปกติ พบว่ายาชงที่ได้จากต้นขลู่จะมีฤทธิ์เป็นยาขับปัสสาวะได้ดีกว่ายาขับปัสสาวะแผนปัจจุบัน (Hydrochlorothiazide) และยังมีข้อดีก็คือ มีการสูญเสียเกลือแร่ในร่างกายน้อยกว่าการใช้ยาแผนปัจจุบัน
  19. ทั้งต้นมีรสหอมฝาดเมาเค็ม ช่วยแก้นิ่วในไต (ทั้งต้น)
  20. ทั้งต้นช่วยรักษาริดสีดวงทวาร หรือจะใช้เปลือกต้นด้วยการขูดเอาขนออกให้สะอาดแล้วลอกเอาแต่เปลือก นำมาต้มรมริดสีดวงทวารหนัก หรือจะใช้ใบสดเอามาตำบีบคั้นเอาแต่น้ำแล้วนำมาทาตรงหัวของริดสีดวงทวาร จะช่วยทำให้หัวริดสีดวงทวารหดหายไปได้ (ทั้งต้น น้ำคั้นจากใบ เปลือก ใบ เมล็ด)
  21. ช่วยแก้มุตกิดระดูขาวของสตรี ด้วยการใช้ใบนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นชา (ใบ ทั้งต้น)
  22. ใบใช้ต้มกับน้ำอาบเป็นยาบีบมดลูก (ใบ)
  23. ใบใช้ชงดื่มเป็นชา ช่วยลดอาการบวมน้ำได้ (ใบ)
  24. ใบและรากใช้เป็นยาฝาดสมาน (ใบและราก)
  25. ใบสดแก่ใช้เป็นสมานทั้งภายนอกและภายใน (ใบสดแก่)
  26. ใบและรากสดใช้ตำพอกแก้แผลอักเสบ (ใบและราก ใบ)
  27. ใบและรากใช้ทำเป็นขี้ผึ้งสำหรับทารักษาแผลเรื้อรัง แต่ไม่แน่ใจว่าต้องผสมกับสมุนไพรชนิดอื่น อีกหรือไม่ (ใบและราก)
  28. ทั้งต้นนำมาต้มกับน้ำอาบช่วยแก้ผื่นคันและรักษาโรคผิวหนัง (ทั้งต้น) ส่วนใบก็นำมาต้มกับน้ำอาบแก้ผื่นคันได้เช่นกัน (ใบ)
  29. ใบและต้นอ่อนช่วยรักษาประดง (โรคผิวหนังชนิดหนึ่งที่ทำให้เกิดอาการคัน) (ใบและต้นอ่อน) หรือจะใช้ทั้งต้นก็ช่วยรักษาประดงได้เช่นกัน (ทั้งต้น)
  30. ใบและต้นอ่อนนำมาต้มกับน้ำอาบจะช่วยรักษาหิด และขี้เรื้อน (ใบและต้นอ่อน)
  31. ช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อย ด้วยการใช้ใบนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นชา (ใบ)
  32. ใบและต้นอ่อนใช้ตำผสมกับแอลกอฮอล์ นำมาใช้ทาหลังบริเวณเหนือไตจะช่วยบรรเทาอาการปวดเอวได้ (ใบและต้นอ่อน)
  33. ช่วยบรรเทาอาการปวดข้อ อาการปวดในโรคไขข้ออักเสบ (ใบและต้นอ่อน)
  34. ใบและรากใช้ผสมกับสมุนไพรชนิดอื่น นำมาต้มกับน้ำอาบจะช่วยรักษาอาการเส้นตึง (ใบและราก)
  35. ในปัจจุบันการแพทย์แผนไทยได้มีการทดลองใบขลู่ (จำนวนตามต้องการหรือพอประมาณ) นำมาต้มให้ผู้ป่วยที่เป็นโรคเอดส์ในระยะเริ่มแรกหรือเพิ่งตรวจพบกิน จะช่วยดูแลสุขภาพได้ในระดับหนึ่ง (ใบ)
  36. ขนาดและวิธีใช้ : ยาแห้งให้ใช้ประมาณ 15-20 กรัม หากเป็นต้นสดให้ใช้ประมาณ 30-40 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทาน หรือจะใช้ร่วมกับตัวยาหรือสมุนไพรอื่น ในตำรับยา


อ้างอิง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี  https://th.wikipedia.org/wiki/ขลู่

MedThai https://medthai.com/ขลู่

Tag : #ใบขลู่ #ชาใบขลู่ #ปวดข้อ #ปวดขา # ลดน้ำตาล #ความดัน

สอบถามสินค้า





OTOP ชาใบขลู่ สนใจติดต่อสอบถาม คุณย่าณี 087-149-9912 
หรือ คุณนักรบ 098-010-4455 

Lineid : rob4455

facebook : 

บริหารงานโดย คุณสุวิศิษฏิ์ ชูชาติไพสาล 

วันพุธที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2559

ใบขลู่ คือ อะไร

ขลู่

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี



ขลู่ (ชื่อสามัญ:Indian Marsh Fleabane ชื่อวิทยาศาสตร์:Pluchea indica (L.) Less.) เป็นพืชที่พบมากในประเทศเขตร้อน เช่น ประเทศไทย มาเลเซีย จีนและฟิลิปินส์ เป็นต้น ชอบขึ้นตามพื้นที่ชื้นแฉะ ขยายพันธุ์โดยการปักชำ เป็นพืชที่ปลูกค่อนข้างง่าย ขึ้นได้ในดินแทบจะทุกชนิด ขลู่มีชื่อพื้นบ้านว่า หนาดวัว หนาดงิ้ว หนวดวัวหรือหนวดงิ้ว(อุดรธานี) ขลู คลู(ภาคใต้) เพี้ยฟาน(ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) ขี้ป้าน(แม่ฮ่องสอน)


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์



ขลู่เป็นพืชที่มีลักษณะเป็นไม้พุ่ม ขึ้นเป็นกอ แตกกิ่งก้านสาขามาก ลำต้นสูงประมาณ 0.5 - 2.5 เมตร ใบมีลักษณะค่อนข้างเรียบรูปไข่กลับ กว้างประมาณ 1-5 เซนติเมตรและยาว 2.5-10 เซนติเมตร ขอบใบหยักแบบฟันเลื่อย โดยรอบมีขนขาวๆปกคลุม ก้านใบสั้นมาก เนื้อใบบาง แผ่นใบเรียบเป็นมัน ใบค่อนข้างแข็งและเปราะ ใบมีกลิ่นหอมฉุน ช่อดอกงอกออกมาจากด้านบนและซอกของใบ กลีบดอกสีม่วง ส่วนของดอกสีม่วงหรือม่วงอ่อน ประกอบด้วยดอกย่อยจำนวนมาก มีทั้งดอกตัวผู้และดอกตัวเมีย ผลแห้งเมล็ดล่อน รูปทรงกระบอกเป็นสันเหลี่ยม 10 สัน ระยางค์มีน้อย สีขาว ยาวประมาณ 4 มม. ลำต้นกลมสีน้ำตาลแดง หรือเขียว ลำต้นและกิ่งก้านมีขนละเอียดปกคลุม เมล็ดมีลักษณะเป็นฝอยเล็กๆ เมื่อแก่จะปลิวไปตามลม [1][2]
ขลู่เป็นพืชที่สามารถพบได้ตลอดปี สารเคมีที่พบในขลู่ ได้แก่ โซเดียม คลอไรด์และโพแทสเซียม[3] ขลู่เป็นพืชที่สามารถสะสมโครเมียมในชีวมวลได้ถึง 51.3 mg/kg [4]





การใช้ประโยชน์

ขลู่เป็นพืชที่รับประทานได้ ใบนำไปลวกจิ้มน้ำพริก หรือใส่ในแกงคั่ว[5] นอกจากนั้น ยังนำใบไปตากแห้ง ใช้ทำชา ดื่มแก้กระหายน้ำ ช่วยลดน้ำหนัก ยอดอ่อนรับประทานเป็นผักจิ้มน้ำพริก หรือกินกับน้ำแกง[6] ดอกนำไปยำกับเนื้อสัตว์ต่างๆ
ฤทธิ์ทางยาของขลู่ ทั้งต้นใช้ต้มเป็นยาช่วยขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะพิการ เบาหวาน ต้มอาบ แก้ผื่นคันและโรคผิวหนัง ใบและรากใช้แก้ไข้ พอกแก้แผลอักเสบ ใบกับต้นอ่อนใช้รักษาอาการปวดตามข้อ[6] ใบช่วยรักษาโรคริดสีดวงทวาร โดยการคั้นน้ำจากใบสด แก้กระษัย เป็นยาอายุวัฒนะ รากสด รับประทานเป็นยาฝาดสมาน แก้บิด ไข้หวัด


อ้างอิง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี  https://th.wikipedia.org/wiki/ขลู่

MedThai https://medthai.com/ขลู่

และอ้างอิงจากหนังสือและเวบไซท์
  1. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5.  “ขลู่“.  (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม).  หน้า 93-94.
  2. หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1.  “ขลู่ (Khlu)“.  (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์).  หน้า 59.
  3. หนังสือสมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ.  “ขลู่ Indian Marsh Fleabane“.  (คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล).  หน้า 168.
  4. หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย.  “ขลู่“.  (วิทยา บุญวรพัฒน์).  หน้า 120.
  5. ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.  “ขลู่“.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.phargarden.com.  [12 ก.พ. 2014].
  6. สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี.  “ขลู่“.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.rspg.or.th.  [12 ก.พ. 2014].
  7. โรงเรียนละหานทรายรัชดาภิเษก.  “ขลู่“.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.lrp.ac.th.  [12 ก.พ. 2014].
  8. ขลู่สมุนไพรดีริมทาง“.  (จำรัส เซ็นนิล).  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.jamrat.net.  [12 ก.พ. 2014].
  9. ระบบฐานข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชน, สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน).  “ขลู่“.  อ้างอิงใน: หนังสือยาสมุนไพรสำหรับงานสาธารณสุขมูลฐาน (มาโนช วามานนท์, เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ),  หนังสือความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการแพทย์แผนไทย (สมพร ภูติยานันต์).  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.bedo.or.th.  [12 ก.พ. 2014].
  10. ผักพื้นบ้านในประเทศไทย กรมส่งเสริมการเกษตร.  “ขลู่“.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: ftp://smc.ssk.ac.th/intranet/Research_AntioxidativeThaiVegetable/.  [12 ก.พ. 2014].





สมุนไพรใบขลู่








Tag : #ใบขลู่ #ชาใบขลู่ #ปวดข้อ #ปวดขา # ลดน้ำตาล #ความดัน

สอบถามสินค้า





OTOP ชาใบขลู่ สนใจติดต่อสอบถาม คุณย่าณี 087-149-9912 
หรือ คุณนักรบ 098-010-4455 

Lineid : rob4455

facebook : 

บริหารงานโดย คุณสุวิศิษฏิ์ ชูชาติไพสาล