วันพุธที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2559

ใบขลู่ คือ อะไร

ขลู่

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี



ขลู่ (ชื่อสามัญ:Indian Marsh Fleabane ชื่อวิทยาศาสตร์:Pluchea indica (L.) Less.) เป็นพืชที่พบมากในประเทศเขตร้อน เช่น ประเทศไทย มาเลเซีย จีนและฟิลิปินส์ เป็นต้น ชอบขึ้นตามพื้นที่ชื้นแฉะ ขยายพันธุ์โดยการปักชำ เป็นพืชที่ปลูกค่อนข้างง่าย ขึ้นได้ในดินแทบจะทุกชนิด ขลู่มีชื่อพื้นบ้านว่า หนาดวัว หนาดงิ้ว หนวดวัวหรือหนวดงิ้ว(อุดรธานี) ขลู คลู(ภาคใต้) เพี้ยฟาน(ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) ขี้ป้าน(แม่ฮ่องสอน)


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์



ขลู่เป็นพืชที่มีลักษณะเป็นไม้พุ่ม ขึ้นเป็นกอ แตกกิ่งก้านสาขามาก ลำต้นสูงประมาณ 0.5 - 2.5 เมตร ใบมีลักษณะค่อนข้างเรียบรูปไข่กลับ กว้างประมาณ 1-5 เซนติเมตรและยาว 2.5-10 เซนติเมตร ขอบใบหยักแบบฟันเลื่อย โดยรอบมีขนขาวๆปกคลุม ก้านใบสั้นมาก เนื้อใบบาง แผ่นใบเรียบเป็นมัน ใบค่อนข้างแข็งและเปราะ ใบมีกลิ่นหอมฉุน ช่อดอกงอกออกมาจากด้านบนและซอกของใบ กลีบดอกสีม่วง ส่วนของดอกสีม่วงหรือม่วงอ่อน ประกอบด้วยดอกย่อยจำนวนมาก มีทั้งดอกตัวผู้และดอกตัวเมีย ผลแห้งเมล็ดล่อน รูปทรงกระบอกเป็นสันเหลี่ยม 10 สัน ระยางค์มีน้อย สีขาว ยาวประมาณ 4 มม. ลำต้นกลมสีน้ำตาลแดง หรือเขียว ลำต้นและกิ่งก้านมีขนละเอียดปกคลุม เมล็ดมีลักษณะเป็นฝอยเล็กๆ เมื่อแก่จะปลิวไปตามลม [1][2]
ขลู่เป็นพืชที่สามารถพบได้ตลอดปี สารเคมีที่พบในขลู่ ได้แก่ โซเดียม คลอไรด์และโพแทสเซียม[3] ขลู่เป็นพืชที่สามารถสะสมโครเมียมในชีวมวลได้ถึง 51.3 mg/kg [4]





การใช้ประโยชน์

ขลู่เป็นพืชที่รับประทานได้ ใบนำไปลวกจิ้มน้ำพริก หรือใส่ในแกงคั่ว[5] นอกจากนั้น ยังนำใบไปตากแห้ง ใช้ทำชา ดื่มแก้กระหายน้ำ ช่วยลดน้ำหนัก ยอดอ่อนรับประทานเป็นผักจิ้มน้ำพริก หรือกินกับน้ำแกง[6] ดอกนำไปยำกับเนื้อสัตว์ต่างๆ
ฤทธิ์ทางยาของขลู่ ทั้งต้นใช้ต้มเป็นยาช่วยขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะพิการ เบาหวาน ต้มอาบ แก้ผื่นคันและโรคผิวหนัง ใบและรากใช้แก้ไข้ พอกแก้แผลอักเสบ ใบกับต้นอ่อนใช้รักษาอาการปวดตามข้อ[6] ใบช่วยรักษาโรคริดสีดวงทวาร โดยการคั้นน้ำจากใบสด แก้กระษัย เป็นยาอายุวัฒนะ รากสด รับประทานเป็นยาฝาดสมาน แก้บิด ไข้หวัด


อ้างอิง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี  https://th.wikipedia.org/wiki/ขลู่

MedThai https://medthai.com/ขลู่

และอ้างอิงจากหนังสือและเวบไซท์
  1. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5.  “ขลู่“.  (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม).  หน้า 93-94.
  2. หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1.  “ขลู่ (Khlu)“.  (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์).  หน้า 59.
  3. หนังสือสมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ.  “ขลู่ Indian Marsh Fleabane“.  (คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล).  หน้า 168.
  4. หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย.  “ขลู่“.  (วิทยา บุญวรพัฒน์).  หน้า 120.
  5. ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.  “ขลู่“.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.phargarden.com.  [12 ก.พ. 2014].
  6. สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี.  “ขลู่“.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.rspg.or.th.  [12 ก.พ. 2014].
  7. โรงเรียนละหานทรายรัชดาภิเษก.  “ขลู่“.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.lrp.ac.th.  [12 ก.พ. 2014].
  8. ขลู่สมุนไพรดีริมทาง“.  (จำรัส เซ็นนิล).  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.jamrat.net.  [12 ก.พ. 2014].
  9. ระบบฐานข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชน, สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน).  “ขลู่“.  อ้างอิงใน: หนังสือยาสมุนไพรสำหรับงานสาธารณสุขมูลฐาน (มาโนช วามานนท์, เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ),  หนังสือความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการแพทย์แผนไทย (สมพร ภูติยานันต์).  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.bedo.or.th.  [12 ก.พ. 2014].
  10. ผักพื้นบ้านในประเทศไทย กรมส่งเสริมการเกษตร.  “ขลู่“.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: ftp://smc.ssk.ac.th/intranet/Research_AntioxidativeThaiVegetable/.  [12 ก.พ. 2014].





สมุนไพรใบขลู่








Tag : #ใบขลู่ #ชาใบขลู่ #ปวดข้อ #ปวดขา # ลดน้ำตาล #ความดัน

สอบถามสินค้า





OTOP ชาใบขลู่ สนใจติดต่อสอบถาม คุณย่าณี 087-149-9912 
หรือ คุณนักรบ 098-010-4455 

Lineid : rob4455

facebook : 

บริหารงานโดย คุณสุวิศิษฏิ์ ชูชาติไพสาล