ต้นป่าช้าเหงา”สมุนไพรไทยดังไกลไปทั่วโลก หลังสามารถช่วยรักษาได้สารพัดโรค
ต้นป่าช้าเหงา”สมุนไพรไทยดังไกลไปทั่วโลก หลังสามารถช่วยรักษาได้สารพัดโรค
ต้นป่าช้าเหงา พืชสมุนไพร
ป่าเฮ่วหมอง ในภาษาล้านนาและไทใหญ่ คำว่า “ป่าเฮ่ว” หมายถึงป่าช้า “ป่าเฮ่วหมอง” จึงหมายถึง ป่าช้าหม่นหมอง เพราะไม่มีคนเสียชีวิต ไม่มีคนมาใช้บริการป่าช้า ถือเป็นสมุนไพรที่มีความสำคัญมาก เพราะมีความเชื่อว่าจะช่วยให้ไม่เจ็บไข้ได้ป่วยและยังนำมารักษาโรคภัยทั้งที่เป็นพิษเฉียบพลันและโรคเรื้อรังได้
ป่าเฮ่วหมอง ปรากฏในตำรายาล้านนาหลายตำรับ ส่วนใหญ่ใช้รักษาโรคเรื้อรังที่หายยาก เช่น โรคสาน หรือโรคที่มีก้อนเนื้อผิดปกติ รวมทั้งฝีต่างๆ ฝีสามตับหรือมะเร็งตับ ฝีสานปอดหรือมะเร็งปอด เป็นต้น โรคขางหรือแผลเปื่อยเรื้อรังตามอวัยวะต่างๆ และนิยมใช้เป็นยาแก้พิษต่างๆ อาทิ พิษจากสารพิษ พิษสุรายาเสพติด
จากการศึกษาพบว่า ป่าเฮ่วหมองมีฤทธิ์ในการต้านมะเร็งเต้านม มะเร็งต่อมลูกหมาก และป้องกันผลข้างเคียงของยาเคมีบำบัด ต้านการแพ้ ต้านอนุมูลอิสระ ช่วยฟื้นฟูซ่อมแซมตับที่เกิดจากความผิดปกติหรือความเป็นพิษได้ นอกจากนี้ยังมีรายงานถึงความสามารถในการปกป้องเซลล์ปกติจากกัมมันตรังสีได้อีกด้วย
มีข้อมูลทางโภชนาการยืนยันว่า “ป่าเฮ่วหมอง” มีประโยชน์ในการช่วยบรรเทาปัญหาการขาดสารอาหาร เพราะอุดมไปด้วยโปนตีน วิตามิน และแร่ธาตุ ทั้งฟอสฟอรัส แคลเซียม โพแทสเซียม ซิงค์ คอปเปอร์ กรดโพลิก และกรดแอสคอบิก หมอยาไทใหญ่และชาวมุสลิมในสามจังหวัดภาคใต้นิยมใช้เป็นยารักษาโรคฮิตอีกหลายโรค เช่น เบาหวาน ความดัน ไขมันในเลือดสูง และมีการศึกษาที่ยืนยันว่าสารสกัดป่าเฮ่วหมอง สามารถลดความเข้มข้นของน้ำตาลกลูโคสในกระแสเลือดได้ ทั้งในคนที่ระดับน้ำตาลปกติและคนเบาหวาน โดยไม่มีผลให้ระดับน้ำตาลตก และช่วยปกป้องตับ ป้องกันไตเสื่อมจากเบาหวานได้
ป่าเฮ่วหมอง เป็นพืชที่พบได้ทั่วไปในแอฟริกา มีการใช้รักษาโรคมาลาเรีย อาการปวดท้อง โรคทางเดินอาหาร โรคพยาธิใบไม่ในเลือด โรคบิดมีตัว บาดแผลภายนอก กามโรค โรคตับ มะเร็ง ส่วนไนจีเรียใช้รักษาเบาหวาน
ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์สมุนไพรป่าเฮ่วหมองจำหน่ายในสหรัฐและไนจีเรีย เพื่อใช้ในการคุมระดับน้ำตาลในเลือด และในสหรัฐยังมีทำเป็นผลิตภัณฑ์เสริมภูมิคุ้มกัน ซึ่งมี 3 ตำรับ คือตำรับช่วยคุมน้ำตาล ตำรับป้องกันมะเร็งเต้านม และตำรับป้องกันมะเร็งต่อมลูกหมาก
แต่อย่างไรก็ตามการรับประทานสมุนไพรป่าเฮ่วหมองอาจทำให้เกิดภาวะโซเดียมต่ำอย่างมีนัยสำคัญ จึงแนะนำให้รับประทานอาหารรสจัดขึ้น เมื่อมีการรับประทานสมุนไพรชนิดนี้
ตำรับยาแก้โรคเบาหวาน ความดัน ลดไข้ ใช้ใบป่าเฮ่วหมอง หั่น ตากแห้ง แล้วชงเป็นชาดื่ม
ตำรับยาแก้โรคกระเพาะ ใช้ใบป่าเฮ่วหมอง ตากแห้ง ตำผง กินครั้งละ 1 ช้อนชา
ตำรับยาลดเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ลดคอเลสเตอรอลในเส้นเลือด แก้ไข้ แก้ไอ ปวดศีรษะ นำใบมาล้างให้สะอาด ตากให้แห้ง แล้วนำมาบดเป็นผงให้ละเอียด จากนั้นนำมาบรรจุแคปซูล รับประทานครังละ 1-2 เม็ด หลังอาหาร เช้าและเย็น
หรือใช้ใบสด 1 ใบ ล้างให้สะอาด และนำมาเคี้ยวสดๆ วันละครั้ง
หรือใช้ใบสด 4-5 ใบ ตำให้ละเอียด คั้นผสมน้ำต้มสุกเล็กน้อย ให้ได้ประมาณ ½ แก้วชา ดื่มทุกเช้าก่อนอาหาร
ข้อควรระวัง ห้ามใช้ในคนท้องและให้นมบุตร และระวังการใช้ร่วมกับยา Digitoxin และChloroquine
ขอขอบคุณที่มาจาก : bloggang.com
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
- ป่าช้าเหงา เป็นไม้ยืนต้น สูง 6-8 เมตร
- ใบป่าช้าเหงา เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปรี ปลายแหลม โคนป้านหรือเกือบมน ใบอ่อนและใบแก่มีรสขมจัด
- ดอกป่าช้าเหงา ออกเป็นช่อตามซอกใบและปลายยอด ดอกเป็นสีขาว
- ผลป่าช้าเหงา ทรงกลม มีเมล็ด
ใบ
- ใบใช้ต้มกับน้ำแล้วดื่ม ช่วยลดเบาหวาน
- แก้อาการของโรคเกาต์
- ลดความดันโลหิตสูง
ข้อห้าม
- สตรีมีครรภ์และให้นมบุตร
- ระวังการใช้ร่วมกับยากลุ่ม Digitoxin และ Chloroquine
ไม้ต้นนี้ มีถิ่นกำเนิดจากประเทศจีน ถูกนำเข้ามาปลูกและขยายพันธุ์ในประเทศไทยนานหลายปีแล้ว นิยมปลูกเฉพาะตามสวนสมุนไพรจีนและสวนสมุนไพรไทยเพื่อใช้ประโยชน์เป็นยา โดยใบสดของ “หนานเฉาเหว่ย” มีรสขมจัด เมื่อเคี้ยวกินสดตอนแรกจะขมในปากมาก แต่พอกินไปได้สักพักจะรู้สึกว่ามีรสหวานในปากและลำคอ…
Tag:
#ป่าช้าเหงา #ใบป่าช้าเหงา #หนานเฉาเหว่ย #ใบป่าเฮ่วหมอง #ป่าเฮ่ว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น